แสงเหนือ แสงใต้ ปรากฏการณ์จากท้องฟ้า – phumthai
02-011-9250
064-717-9497
062-659-9247
095-919-4761
วันจันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 17.30 น.
วันเสาร์ 09.00 - 16.00 น.

แสงเหนือ แสงใต้ ปรากฏการณ์จากท้องฟ้า

กุมภาพันธ์ 27, 2023 | by phumthai

ความสวยงามที่หลายคนตามล่าเพื่อที่จะได้เห็นกับตาสักครั้ง ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าตื่นตาและสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คน ความงดงามของแสงสีบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนที่มองดูคล้ายกับม่าน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างรวดเร็วราวกับว่าแสงนั้นกำลังเต้นระบำอยู่ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าแสงเหนือ – แสงใต้ หรือออโรรา (Aurora)

ออโรรา (Aurora) เป็นปรากฏการณ์การเกิดแนวแสงสว่างสีต่าง ๆ บนท้องฟ้ายามค่ำคืน มักเกิดขึ้นในแถบประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดสูง ซึ่งก็คือ บริเวณขั้วโลกที่มีอุณหภูมิต่ำ อากาศหนาวเย็น ซึ่งหากเกิดบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ จะเรียกว่า แสงเหนือ (Aurora borealis) และบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ เรียกว่า แสงใต้ (Aurora australis)

แสงเหนือ – แสงใต้ เกิดได้อย่างไรกันนะ

แสงเหนือ-แสงใต้ เกิดจากอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน หรือไอออนอื่น ๆ ที่มีพลังงานสูงถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ขณะกำลังโคจร ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะเคลื่อนที่มากับลมสุริยะและเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศในระดับความสูงประมาณ 80 – 1,000 กิโลเมตร จากพื้นดินจะชนเข้ากับโมเลกุลของก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ และปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสงที่เรามองเห็นเป็นสีต่าง ๆ ซึ่งสีของแสงที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าอนุภาคดังกล่าวชนกับโมเลกุลของก๊าซในช่วงระดับความสูงใด รวมถึงชนิดของก๊าซที่พบในชั้นบรรยากาศนั้น ๆ ด้วย โดยก๊าซออกซิเจนจะให้แสงสีเขียวหรือสีแดง ไนโตรเจนให้แสงสีน้ำเงินหรือสีม่วง ส่วนฮีเลียมให้แสงสีฟ้าหรือสีชมพู

แสงเหนือ – แสงใต้ พบได้ช่วงใด

ความจริงแล้วแสงเหนือ – แสงใต้ เกิดขึ้นตลอดทั้งปี หากแต่ว่าบริเวณขั้วโลกมีช่วงเวลากลางวันกลางคืนที่สั้น-ยาว ไม่เท่ากัน บางเดือนไม่มีกลางคืน บางเดือนมีกลางคืนยาวนาน จึงไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ดังนั้นการล่าแสงเหนือ-แสงใต้ ที่ดีจึงต้องมีช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสการพบมากที่สุด นั้นคือ ช่วงปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนเมษายน หรือในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีระยะเวลากลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน ทำให้เรามีเวลาในการออกตามล่าหาเเสงเหล่านั้น

แต่หากกลางคืนยาวนานมากเกินไป เช่น ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม แม้จะมีเวลาให้ตามล่าแสงเหนือ-แสงใต้ได้ยาวนานขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ต้องการมาท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ด้วย อาจจะต้องจัดตารางเวลาให้ดี เพราะสภาพอากาศจะมืดเร็วมาก นอกจากช่วงเดือนที่มีความสำคัญต่อการพบแสงเหนือ – แสงใต้ แล้วปัจจัยอื่น ๆ เช่น ช่วงเวลาและสภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญ คือ ต้องเป็นวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไร้เมฆ บรรยากาศมืดสนิท และช่วงเวลาประมาณ 22.00-24.00 น. จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเห็นแสงเหนือ – แสงใต้ มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตามสภาพอากาศในแถบขั้วโลกมักมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่คาดการณ์ไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถพบแสงเหนือ-แสงใต้ การตามล่าแสงเหนือ-แสงใต้ในช่วงที่ดวงอาทิตย์ผ่านวัฏจักรสุริยะ (Sun spot) มาแล้ว 2 วัน จึงเป็นช่วงที่แสงเหนือ-แสงใต้ ปรากฏให้เห็นชัดเจนที่สุด จากนั้นแสงจะค่อย ๆ ลดลง และจะเปล่งแสงสว่างขึ้นมาอีกครั้งเมื่อครบรอบวัฏจักร 11 ปี (วัฏจักรสุริยะ คือ รอบของการเปลี่ยนแปลงจำนวนจุดดับหรือจุดมืดบนดวงอาทิตย์

เป็นสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศด้านล่างดวงอาทิตย์ ซึ่งใน 1 รอบของวัฏจักรสุริยะจะมีระยะเวลาเฉลี่ยถึง 11 ปี และในทุก ๆ ครั้งของการเกิดวัฏจักรใหม่ ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะมีการสลับขั้วเหนือ – ใต้ระหว่างกัน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มากมาย รวมถึงการเกิดพายุสุริยะ (Solar storm) และเปลวสุริยะ (Solar flare) ที่ส่งผลต่อการเกิดแสงเหนือ-แสงใต้ นั่นเอง) จะเห็นได้ว่าหากดวงอาทิตย์มีกิจกรรมมากขึ้นโอกาสที่จะพบแสงเหนือ – แสงใต้ ก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

 

ขอบคุณที่มา : sciplanet

mascot
จองผ่านไลน์
ติดต่อข่าวสารโปรโมชั่นทัวร์